- เพื่อรองรับโครงสร้างอาคารที่เกิดปัญหาจากการทรุดตัวและจมลงไปในดิน หรืออาคารเกิดการเอนเอียง หรือโครงสร้างใต้ดินไม่มีเสถียรภาพ
- เพื่อหยุดยั้งและป้องกันการทรุดตัวของโครงสร้างเนื่องจากมีการขุดดินใต้ระดับฐานรากของอาคารในบริเวณใกล้เคียง 3. เพื่อค้ำยันโครงสร้างอาคาร หรือใช้เป็นส่วนค้ำยันหลักในขณะทำการดัดแปลงแก้ไขฐานรากอาคาร
- เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ให้ฐานรากที่อยู่ลึก ๆเนื่องจากเหตุผลและความต้องการทางโครงสร้าง ตัวอย่างเช่นการก่อสร้างฐานรากสิ่งปลูกสร้างใต้อาคารหรือห้องใต้ดิน
- เพื่อเพิ่มขนาดฐานราก ให้สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น เช่นการต่อเติมเพิ่มชั้นอาคาร
- เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับอาคาร ที่ถูกเคลื่อนย้ายไปประกอบติดตั้งที่อื่น
ชนิดของเสาเข็มที่ใช้กันในปัจจุบัน
เสาเข็มตอกเป็นการนำเสาเข็มลงไปในดินด้วยการใช้น้ำหนักตอกลงบนหัวเข็มเสาเข็มชนิดนี้เสาเข็มที่ตอกลงไปจะเข้าไปแทนที่ดินทำให้มีการเลื่อนและเคลื่อนตัวของชั้นดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวราบการใช้เสาเข็มชนิดนี้จึงเหมาะกับการก่อสร้างที่มีพื้นที่กว้างขวางห่างไกลจากอาคารข้างเดียว เสาที่นำมาทำเสาเข็มตอกก็มีหลายชนิดที่ใช้กันอยู่เช่น เสาเข็มไม้ซึ่งใช้กันมานานการใช้เสาเข็มไม้นั้นจำเป็นที่จะต้องตอกให้เสาเข็มอยู่ใต้ระดับน้ำตลอดเวลาเพื่อกันปลวกมอดหรือแมลงเข้ามาทำลายเนื้อไม้รวมทั้งอากาศก็มีส่วนสำคัญในการทำให้เข็มไม่เสื่อมสภาพได้แต่ในปัจจุบันเสาเข็มไม้ที่ดีมีคุณภาพหายากและมีราคาแพงเสาเข็มตอกส่วนใหญ่นิยมใช้เสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จซึ่งมีด้วยกัน 2 ชนิดคือเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เสาเข็มประเภทนี้มีด้วยกันหลายแบบ ให้เลือกใช้เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงเพราะมีข้อดีกว่าเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กตรงที่สามารถทำให้ยาวกว่าโดยมีหน้าตัดเล็กกว่าได้ทำให้ผลกระทบจากการตอกเสาเข็มต่ออาคารบ้านเรือนในบริเวณใกล้เคียงโดยรอบลดน้อยลงเสาเข็มตอกประเภทสุดท้ายได้แก่ เสาเข็มเหล็กที่ใช้ส่วนใหญ่มักจะเป็นเสาเข็มเหล็กรูปตัวHเพราะสามารถทำการตอกลงดินได้ง่าย และรับน้ำหนักบรรทุกได้ดีครับแต่เสาเข็มเหล็กค่อนข้างจะมีราคาแพงจึงมักจะใช้ในกรณีของการซ่อมอันมีสาเหตุจากการทรุดร้าวของอาคารเสาเข็มนั้นจัดเป็นส่วนสำคัญที่เปรียบเสมือนรากฐานของบ้านดังนั้นจึงควรใส่ใจในรายละเอียดกันให้มากสักหน่อยเพื่อบ้านของแต่ละท่านได้เริ่มต้นบนรากฐานที่ดีปัญหาต่างๆก็ไม่ตามมากวนใจกันทีหลังแน่นอนผมจะขอพูดถึงเสาเข็มอีกประเภทที่เรียกกันว่า เสาเข็มเจาะแบบไมโครไฟล์